โครงสร้างการบริหารงาน

โครงสร้างการบริหารงาน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข)


1) สำนักบริหารกลาง (สบก.) อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
» ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป และปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน
» ดำเนินการเกี่ยวข้องกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนักงาน
» ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงาน
» ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดระบบงานและบริหารงานทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน
» ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครองและงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจของสำนักงาน รวมทั้งงานให้คำปรึกษาแนะนำทางกฎหมายแก่หน่วยงานภายในสำนักงาน
» ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม ผลการปฏิบัติงาน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของสำนักงาน
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2) กองจัดระบบการจราจรทางบก (กจร.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
» ศึกษา สำรวจและวางแผนการจัดระบบการจราจรทางบก เสนอแนะแนวนโยบายและกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับการจัดระบบการจราจร ตลอดจนมาตรการในการแก้ไขปัญหาการจราจรทางบกให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองและสิ่งแวดล้อม
» วิเคราะห์และกลั่นกรองความเหมาะสมและแผนงานและโครงการที่เกี่ยวกับการจัดระบบ การจราจรด้านเทคนิค เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และผังเมืองของแผนงานและโครงการ
» วิเคราะห์เสนอแนะแนวทาง นโยบาย มาตรการ แผนงาน และโครงการ ในการจัดระบบการจราจรทางบก ตลอดจนประสานงาน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
» ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

3) กองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร (กพข.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

» ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอรูปแบบเทคโนโลยีด้านการขนส่งและจราจรที่เหมาะสมกับสถานการณ์
» ศึกษาและเสนอรูปแบบ แนวทางการพัฒนาแนวเส้นทาง ระบบโครงข่ายการขนส่งและจราจรเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคและแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเขื่อมต่อหลายรูปแบบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และระหว่างภูมิภาค และรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ และการขนส่งอย่างยั่งยืน
» ศึกษาและพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร รวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางต่างรูปแบบและต่างประเภทให้เชื่อมโยงกัน
» ศึกษาและเสนอแนะรูปแบบและแนวทางการพัฒนาการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุในโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสาธารณะ
» ประสานการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการที่กำหนด
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

4) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการขนส่งและจราจร (ศทท.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
» จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน และแผนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน
» จัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการขนส่งและจราจร รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศการขนส่งและจราจรของสำนักงาน ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
» พัฒนา และจัดทำมาตรฐานระบบแบบจำลองการขนส่งและจราจร และระบบการพัฒนาเทคโนโลยีการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

5) สำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (สตร.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

» ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบตั๋วร่วม และโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม
» จัดทำรายละเอียดของแผนงานการกำหนดนโยบาย และมาตรฐานต่าง ๆ ของระบบตั๋วร่วม
» จัดทำกรอบการดำเนินงานและมาตรฐานต่าง  ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมรวมทั้งรูปแบบในการเชื่อมต่อระหว่างระบบของผู้ประกอบการแต่ละราย
» จัดทำรายละเอียดในการกำหนดรูปแบบ กลไกการกำกับดูแล และแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพ
» ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

6) สำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง (สรร.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

» ศึกษาและเสนอแนะรูปแบบแนวทางการพัฒนา รูปแบบการลงทุนและการบริหารจัดการโครงข่ายการขนส่งทางรางของประเทศ
»กำกับและติดตามการดำเนินงานการพัฒนาการขนส่งทางรางและประสานการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการพัฒนาระบบราง
» ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการขนส่งทางรางของประเทศ
» เสนอแนะเพื่อกำหนดมาตรฐาน แนวทาง และมาตรการกำกับดูแล รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการให้บริการขนส่งทางรางให้มีระดับคุณภาพการให้บริการที่ดี มีประสิทธิภาพ สะดวกและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ
» ศึกษาและวิเคราะห์โครงการ แผนงาน และแนวทางการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนงานขนส่งทางราง
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
7) สำนักแผนความปลอดภัย (สผป.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

» จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยจากการขนส่งและจราจร
» ศึกษาและพัฒนาเพื่อเสนอแนะนโยบาย รวมทั้งมาตรการ และแผนงานด้านความปลอดภัยจากการขนส่งและจราจร
» จัดทำรายงาน และวิเคราะห์ข้อมูล และแนวโน้มสถานการณ์ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในระบบการขนส่ง
» ศึกษาและพัฒนาเพื่อให้คำปรึกษา ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ด้านความปลอดภัยจากการขนส่งและจราจร
» ประสานงาน กำกับดูแล ติดตาม วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินการ ตลอดจนปรับเปลี่ยนแผนวิธีการดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

8) สำนักแผนงาน (สผง.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
» ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนหลัก แผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจร แผนยุทธศาสตร์กระทรวง และแผนปฏิบัติการด้านการขนส่งและจราจร รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน
» ศึกษาและเสนอแนะนโยบาย แผนงาน และมาตรการด้านการขนส่งและจราจร
» จัดทำ ประสานงาน และติดตามการดำเนินการตามแผนระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อพัฒนาระบบการขนส่ง
» ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการลงทุนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
» ศึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวง
» ศึกษา วิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลกระทบจากนโยบาย สนธิสัญญา และข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีต่อการขนส่งและการจราจร เพื่อเสนอแนะนโยบายและแผนในการเข้าร่วมเจรจาทั้งในระดับทวิภาคีและพหุพาคี
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

9) สำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค (สสภ.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
» ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจรในภูมิภาคให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนหลักด้านการขนส่งและจราจร รวมทั้งติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน
» ศึกษาและวิเคราะห์แผนงานและโครงการด้านการขนส่งและจราจรในภูมิภาค
» เสนอแนะแนวทางและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรในเชิงบูรณาการในภูมิภาค
» ประสานและสนับสนุนด้านวิชาการและการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัด และส่งเสริมการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มตรวจสอบภายใน (กตส.)  มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
» ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และบัญชีของสำนักงาน
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

» เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
» ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
» ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่างๆ และหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน
» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น